Tutorial for Application Development



Thursday, 20 August 2009

ตัวแปร ข้อมูลพื้นฐาน (Primitive Data Types) การแสดงผลหน้าจอ

คำสั่งแสดงผลออกหน้าจอ

System.out.println(String value);
Example
System.out.println("Hello world");

ข้อมูลพื้นฐาน (Primitive Data Types)

ประเภท กลุ่ม ขนาด(byte)
boolean บิต(จริงเท็จ) 1
char Unicode(ตัวอักษร) 2
byte จำนวนเต็ม 1
short จำนวนเต็ม 2
int จำนวนเต็ม 4
long จำนวน 8
float จำนวนจริง 4
double จำนวนจริง 8

4. ตัวแปร (Variable)
รูปแบบการประกาศ ตัวแปรมีดังนี้

ประเภท ชื่อตัวแปร ;

คือ ต้องมี ประเภทตัวแปร ตามด้วย ชื่อตัวแปร และ เครื่องหมาย สิ้นสุดประโยค ตัวอย่างเช่น ต้องการประกาศตัวแปรเป็น แบบ int
int myInt;
ถ้าหากต้องการประกาศตัวแปรประเภทเดียวกันหลาย ๆ ตัว ทำได้ดังนี้
int myInt1,myInt2,myInt3;
มีค่าเท่ากันกับ
int myInt1;
int myInt2;
int myInt3;
การประกาศตัวแปรสามารถกำหนดค้า เริ่มต้นให้กับตัวแปรได้ ตามตัวอย่างดังนี้
int myInt=0;

การประกาศตัวแปรมีสองแบคือ
1. ตัวแปรแบบ Global คือตัวแปรระดับ Class มักจะเขียนไว้ บรรทัดแรก หลังจากตั้ง ชื่อ Class ตามตัวอย่าง

File Va1.java
public class Va1 {
String a;
int b;
}

**ตัวแปรที่เป็นแบบ Global จะมีเรื่องของขอบเขตุการมาองเห็นมาเกี่ยวข้องซึ่งจะชี้แจงรายละเอียดในเนื้อหาของ OOP ต่อไป

2. ตัวแปร แบบ local คือตัวแปรที่สร้างขึ้นใช้เองภายใน แต่ละ method สามารถประกาศไว้ที่ใดก็ได้ภายใน method ตัวอย่างเช่น

File Va2.java

public class Va2 {
private void hello(){
String a;
int b;
}
}

การกำหนดค่าให้กับตัวแปร ทำได้ ดังนี้

ชื่อตัวแปร= ค่าที่เป็นไปได้ในการกำหนด;

คือ ชื่อตัวแปร ตามด้วยเครื่องหมาย = ตามด้วยค่าที่ต้องการใส่
ตัวอย่าง เช่น
int myInt;
myInt=10;

**แนะนำ!! การใช้งานตัวแปรจะมีเรื่องของของเขตุการมองเห็นมาเกี่ยวข้องด้วย อธิบายตอนนี้คงยังไม่เห็นภาพ ให้รู้ไว้ก่อนว่ามันมีประเด็นนี้อยู่เอาไว้ตอนเรียน เรื่อง IF หรือ LOOP ไม่ก็ OOP ก่อนจะเห็นภาพชัดเจน และก็ ตัวแปรในระดับเดียวกันจะตั้งชื่อ ซ้ำกันไม่ได้นะครับ

No comments: