Tutorial for Application Development



Thursday 20 August 2009

ประวัติความเป็นมา และความรู้เบื้องต้น ของภาษา Java (Intorducing Java)

1. Compilation and Interpretation
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงทุกภาษาจะต้องมี ตังแปลจาก Source code ให้เป็นเป็นภาษาเครื่อง (machine code) ซึ่งวิธีการแปลภาษาจะถูกแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ Compilation กับ Interpretation
- Compilation ตัวแปลภาษาแบบนี้เรียกว่า คอมไพเลอร์ หลักการทำงานคือ จะทำการ คอมไพล์ Source code ให้เป็น ภาษาเครื่องก่อนตั้งแต่แรกโดยแยกส่วนของการ คอมไพล์ ออกมาต่างหาก จะทำให้การททำงาน ได้เร็ว และทำให้โปรแกรมมีขนาดเล็ก ตัวอย่าง ภาษา เช่น C,C++,Pascal
- Interpretation ตัวแปลภาษาแบบนี้เรียกว่า interpreter การทำงานคือจะทำการแปลทีละ บรรทัด สลับกันไปจนกว่าจะเสร็จ การทำงานจะช้ากว่า แบบ คอมไพเลอร์ แต่ตัง interpreter จะมีขนาดเล็ก และ พัฒนาง่ายกว่าเนื่องจากการแปลทีละบรรทัดนั้นง่ายกว่าการแปลทั้งโปรแกรม
2. Java's Virtual Machine
Java's Virtual Machine คือ โปรแกรม ที่จะต้องนำไปติดตั้งไว้กับ เครื่อง ที่ต้องการ Run Java ซึ่ง Java นำแนวความคิดของ Virtual Machine มาผสมผสานกับ คอมไพเลอร์ และ Interpreter เพื่อให้ได้ ประสิทธิภาพสูงสุด โดย Source code ของ ภาษา Java จะมี นามสกุล เป็น .java เมื่อนำมา คอมไพล์ แล้วจะได้ เป็น .class ซึ่งเป็น file ที่สามารถนำไป run ได้บน Virtual Machine
3. J2SE Development Kit (JDK)
คือ Software ที่มีหลาย ๆ บริษัท ผลิต มาเพื่อใช้ในการ Run Java โดย หลักๆจะรวมชุดคำสั่งเพื่อใช้ในการ คอมไฟล์ และ Run (interpreter) โดย เมื่อติดตั้งJDK แล้ว โปรแกรม เหล่านี้จะถูกเก็บไว้ที่ห้อง bin
- javac.exe เป็นโปรแกรม java compiler
- java.exe เป็นโปรแกรม java interpreter
และนอกจากนี้ก็จะมีพวก lib ต่างๆ ที่รวบรวม Resource และ standard class ต่างๆ ไว้ให้ โปรแกรม compiler และ interpreter เรียกใช้ รวมทั้ง class มาตรฐาน ที่ทาง บริษัท Sun micro system ได้กำหนดไว้ให้เรานำไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรม
4. Overview of Java Programs






การสร้าง Class ภาษาเชิงวัตถุมี class เป็นโครงสร้างของโปรแกรม class จะถูกสร้างขึ้นโดยใช้ keyword class ตามด้วย ชื่อ class และส่วนของ โปรแกรม ภายใต้ เครื่อง หมาย {}

Example
Class Test{ Statement; Statement; }
ใน ไฟล์ จาวา หนึ่ง file สามารถมี Class ที่เป็น default ได้ หลาย Class เช่น

ไฟล์ Test.java
class A { } class B { } class C { }

ถึงแม้ว่า Class A,B,C จะถูกเขียนไว้บน ไฟล์ Test.java ไฟล์ เดียวแต่เมื่อผ่านการ คอมไฟล์แล้วจะได้เป็น .class มา 3 File ตามชื่อ class
หลักการตั้ง ชื่อ File และ ชื่อ Class
1. กรณีที่เป็น default Class คือไม่มี modifier public นำหน้า สามารถตั้งชื่อ class เป็นอะไรก็ได้ไม่จำเป็นต้อง ตรงกับ ชื่อ File
2. กรณีที่ class มี modifier public นำหน้า จะต้องตั้งชื่อ class ให้ตรงกับชื่อ File และในแต่ละ File จะต้องมี public class เพียง 1 class เท่านั้น
Example

ไฟล์ Test2.java
public class A { }

Class ไฟล์ Test2.java จะ คอมไฟล์ ไม่ผ่าน เนื่องจาก ชื่อ public class กับชื่อ file ไม่ตรงกัน

แนะนำ!!!! ถึงแม้ว่า Java สามารถสร้าง class ได้หลาย class ใน ไฟล์ เดียวกันได้ แต่ว่าในทาง ปฏิบัติจริงเราควรกำหนดให้มีเพียง class เดียวต่อ หนึ่ง ไฟล์ และชื่อของ ไฟล์ควรจะเหมือนกันกับ ชื่อของ class เพื่อเพราะจะทำให้ง่ายต่อการ พัฒนา และ maintain กรณีที่ เป็นโปรแกรมขนาดใหญ่และมีความซับซ้อน
และเพื่อความเป็นระเบียบและง่ายต่อการตรวจสอบ
- ชื่อของ Class จะต้องขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่
- ชื่อของตัวแปร หรือ Method จะต้องขึ้นต้นด้วยตัวเล็ก
- ชื่อ package เป็นตัวเล็กทั้งหมด

No comments: